BEAUX ART STYLE
Beaux-Arts architecture อ่านออกเสียงว่า “โบซาร์อาร์ต อาคิเต็ก” หรือในชื่อภาษาไทย คือ สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูคลาสสิกตามแบบของสถาบันที่สอนกันที่สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งกรุงปารีส (École des Beaux-Arts) โดยลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเอาคำสอนกว่า250ปีภายในสถาบันต่างๆที่เริ่มด้วยราชสถาบันสถาปัตยกรรม ต่อมาเมื่อมีการปฎิวัติฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนมาทำการสอนโดยแผนกสถาปัตยกรรมของสถาบันวิจิตรศิลป์ ซึ่งมีการบริหารภายใต้การปกครองระบบโบราณ
"Beaux Arts style" ได้รับความนิยมอยู่ถึงกว่าสองศตวรรษของการเรียนการสอนภายใต้ผู้เชี่ยวชาญ เริ่มแรกที่ Académie royale d'architecture แล้วหลังจากนั้น ตามมาด้วยการปฏิวัติสถาปัตยกรรมของ Académie des Beaux-Arts จัดตั้งภายใต้ Ancien Régime ในการแข่งขันสำหรับ Grand Prix de Rome เพื่อเสนอให้มีการเรียนการสอนในกรุงโรม และรุ่งเรื่องมากในยุค Second Empire (1850-1870) และ the Third Republic ต่อมา ลักษณะการสอนนั้นก่อให้เกิด Beaux-Arts architecture อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการปรับปรุงใหม่ใหญ่จนถึงปี 1968
Beaux Arts Style เป็นการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมแบบกรีกและโรมันกับแนวคิดของ Renaissance เป็นที่นิยมของอาคารสาธารณะขนาดใหญ่และบ้านของผู้ที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย ลักษณะสถาปัตยกรรม Beaux-Arts เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรม แบบ The Beaux Arts style ซึ่งได้ริเริ่มในÉcole des Beaux Arts ใน กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถาปนิกชาวอเมริกันหลายคนได้ศึกษาที่โรงเรียนสถาปัตยกรรมที่เป็นตำนานแห่งนี้ ซึ่งที่นี่พวกเค้าได้เรียนเกี่ยวกับหลักการเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ของการออกแบบคลาสสิกและพวกเขาได้นำความรู้กลับไปสู่การออกแบบที่สหรัฐอเมริกา
การเรียนการสอนใน École des Beaux Arts การฝึกสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์โดยทั่วไปโดยจะเน้นเอาต้นแบบมาจาก
แต่การฝึกก็อาจจะประยุกต์ไปใช้กับตัวอย่างของลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอื่นเช่นด้านหน้าของคฤหาสต์หรือวังของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ของฟลอเรนซ์ หรือ สถาปัตยกรรมกอธิคตอนปลายของฝรั่งเศส แต่สถาปนิกอเมริกันของสมัยสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์มักจะหันกลับไปใช้สถาปัตยกรรมกรีกเป็นแบบอย่าง ซึ่งมีพื้นฐานที่เกี่ยวพันกับประวัติของการศิลปฟื้นฟูกรีกของอเมริกาของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
การฝึกสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์เน้นการเขียนงานร่างแบบความคิดอย่างรวดเร็ว, ภาพวาดลายเส้นแบบทัศนมิติที่คุณภาพสูง, เน้นรายละเอียดของรายละเอียด (Brief), และรายละเอียดของความรู้ของสิ่งก่อสร้าง ส่วนที่ตั้งก็จะเน้นการสร้างในบริบทของความเกี่ยวข้องของสิ่งก่อกับสังคมรอบด้านและในตัวเมือง
สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์บางแนวก็หันไปทางแมนเนอริสม์ การฝึกก็จะหนักไปในทางการใช้ agrafes ที่เชื่อมระหว่ารายละเอียดของสถาปัตยกรรมแบบหนึ่งกับอีกแบบหนึ่ง, การตีความหมายของรูปทรงซึ่งเป็นลักษณะของบาโรก, และการใช้ปรัชญา อัตวัจนสถาปัตย์ (architecture parlante หรือ speaking architecture) หรือ speaking architecture ซึ่งเป็นความคิดที่ว่าสิ่งก่อสร้างสามารถอธิบายการใช้สอยของตนเอง หรือ ความเป็นสถาปัตยกรรมของตัวเองแก่ผู้เห็นได้
- สถาปัตยกรรมโรมัน ระหว่างสมัยจักรพรรดิออกัสตัสจนถึงจักรพรรดิเซเวรัน,
- สถาปัตยกรรมบาโรก แบบฝรั่งเศสและอิตาลี
แต่การฝึกก็อาจจะประยุกต์ไปใช้กับตัวอย่างของลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอื่นเช่นด้านหน้าของคฤหาสต์หรือวังของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ของฟลอเรนซ์ หรือ สถาปัตยกรรมกอธิคตอนปลายของฝรั่งเศส แต่สถาปนิกอเมริกันของสมัยสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์มักจะหันกลับไปใช้สถาปัตยกรรมกรีกเป็นแบบอย่าง ซึ่งมีพื้นฐานที่เกี่ยวพันกับประวัติของการศิลปฟื้นฟูกรีกของอเมริกาของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
การฝึกสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์เน้นการเขียนงานร่างแบบความคิดอย่างรวดเร็ว, ภาพวาดลายเส้นแบบทัศนมิติที่คุณภาพสูง, เน้นรายละเอียดของรายละเอียด (Brief), และรายละเอียดของความรู้ของสิ่งก่อสร้าง ส่วนที่ตั้งก็จะเน้นการสร้างในบริบทของความเกี่ยวข้องของสิ่งก่อกับสังคมรอบด้านและในตัวเมือง
สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์บางแนวก็หันไปทางแมนเนอริสม์ การฝึกก็จะหนักไปในทางการใช้ agrafes ที่เชื่อมระหว่ารายละเอียดของสถาปัตยกรรมแบบหนึ่งกับอีกแบบหนึ่ง, การตีความหมายของรูปทรงซึ่งเป็นลักษณะของบาโรก, และการใช้ปรัชญา อัตวัจนสถาปัตย์ (architecture parlante หรือ speaking architecture) หรือ speaking architecture ซึ่งเป็นความคิดที่ว่าสิ่งก่อสร้างสามารถอธิบายการใช้สอยของตนเอง หรือ ความเป็นสถาปัตยกรรมของตัวเองแก่ผู้เห็นได้
จนมาถึงช่วง ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งกำลังเริ่มเข้าสู่ International style ชื่อเสียงของÉcole ทำให้ Beaux-Arts architecture กลับมาอีกครั้งในลักษณะของตัวช่วยทำให้เกิดการประนีประนอมให้มีลักษณะการศึกษาแบบดั้งเดิม ทำให้สถาปนิกทั้งหมดในการฝึกต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาและจำลองแบบโบราณ รวมไปถึงการวิเคราะห์และถอดแบบสถาปัตยกรรมแบบกรีกหรือแบบโรมัน เสียก่อนอย่างน้อยสองถึงสามสถานที่จึงจะสามารถผ่านหลักสูตรได้
ลักษณะเฉพาะของ The Beaux Arts style
สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์เป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้การตกแต่งด้วยประติมากรรมตามแนวเส้นที่เป็นอนุรักษนิยมของสมัยใหม่ โดยใช้การตกแต่งแบบบาโรกของฝรั่งเศสและอิตาลีและสูตรของการตกแต่งแบบโรโคโคผสมกับอิมเพรสชันนิสม์และสัจนิยม ด้านหน้าของสิ่งก่อสร้างในภาพประกอบเทพีไดแอนนาเกาะบัวที่นั่งอยู่อย่างธรรมชาติซึ่งเป็นลักษณะที่แท้ของสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์
สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์เป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้การตกแต่งด้วยประติมากรรมตามแนวเส้นที่เป็นอนุรักษนิยมของสมัยใหม่ โดยใช้การตกแต่งแบบบาโรกของฝรั่งเศสและอิตาลีและสูตรของการตกแต่งแบบโรโคโคผสมกับอิมเพรสชันนิสม์และสัจนิยม ด้านหน้าของสิ่งก่อสร้างในภาพประกอบเทพีไดแอนนาเกาะบัวที่นั่งอยู่อย่างธรรมชาติซึ่งเป็นลักษณะที่แท้ของสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์
ประติมากรรมของเทพีโรมันเทพีโพโมนา และ เทพีไดแอนนา และงานหินที่สร้างให้ดูเป็นงานหินแบบของเก่า |
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะที่มองเห็นโดยสรุปได้ดังนี้
- หลังคามีลักษณะแบนราบ
- หน้าต่างมีกรอบบนโค้ง
- ประตูมีลักษณะทรงโค้งและทรงหน้าจั่ว
- มีความสมมาตร
- มีความละเอียดประณีต แสดงถึงประวัติศาสตร์
- งานนำเอางานปั้น ประติมากรรม งานแกะสลักผนัง หรืองานจิตรกรรม มารวมกันก่อให้เกิด มีการลงรายละเอียดสถาปัตยกรรมคลาสสิก ในงานราวจับบันได ลูกกรง เสา ประดับประดาด้วยพวงมาลา เป็นต้น
- การออกแบบที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
- มีลักษณะใหญ่โตโอ่อ่า
- การประดับตกแต่งที่อลังการและประณีต
The Beaux Arts style ถูกเรียกด้วยหลายๆชื่อเช่น Beaux Arts Classicism หรือ Academic Classicism หรือ Classical Revival โดยส่วนใหญ่รูปแบบ Beaux Art จะถูกนำไปใช้สำหรับอาคารสาธารณะ เช่น พิพิธภัณฑ์, สถานีรถไฟ , หอสมุด ศาลากลาง , ธนาคาร และสถานที่ราชการสำคัญๆ ในสหรัฐอเมริกาสไตล์ Beaux Art จะนำไปสู่การวางแผนกับสิ่งที่อยู่ข้างเคียงจากตัวอาคารด้วยเช่น ถนนขนาดใหญ่ หรือส่วนสาธารณะ
แต่ทว่าความนิยมของ The Beaux Arts style ก็ได้หมด และเสื่อมถอยไปในปี 1920 ภายในระยะเวลา 25 ปี อาคารที่อยู่อาศัย และตึกรามบ้านช่องได้รับการพิจารณาและถูกมองว่า โอ้อวดหรูหรา และแสดงออกถึงความฟุ่มเฟือยจนเกินไป ภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้นับถือลัทธิโปสตมอเดร์นิสมได้ค้นพบ คุณค่าของ The Beaux Arts ideal อีกครั้ง
ตัวอย่างอาคาร สไตล์ Beaux Art
Government Conference Centre, Ottawa |
Andrew Mellon Building |
The Iowa, a Beaux-Arts condominium in Washington, D.C. |
Grand Central Terminal (Station opened 1871, Terminal 1903), New York City |
Pont Alexandre III and Grand Palais in Paris. |
Washington, D.C. Public Library, c.1902. Gift of Andrew Carnegie. |
The Beaux Arts Vanderbilt Marble House in Newport, Rhode Island |
ตัวอย่างอาคาร สไตล์ Beaux Art ในประเทศไทย
สำนักงานแบงก์สยามกัมมาจล
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ถือเป็นสำนักงานแห่งแรก หลังจากที่มีการก่อตั้ง “บริษัทแบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัด” ในปี พ.ศ. 2451 และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ธนาคารไทยพาณิขย์ จำกัด” เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2482หรือก็คือ ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นรากฐานที่มาของธนาคารไทยพาณิชย์ปัจจุบัน
องค์ประธานกำเนิดธนาคารแห่งนี้คือพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าไชยันตมงคล หรือ "พระบิดาแห่งการธนาคารไทย" พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมุ่งมั่นก่อตั้งธนาคารกลางของประเทศ เพื่อดูแลระบบการเงินของประเทศ และก่อสร้างที่ทำการครั้งแรก ที่มีเพียงตึกแถว 2 ชั้น 3 คูหา บริเวณย่านบ้านหม้อ มีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า "บุคคลัภย์" (book Club) ก่อนที่จะมาเป็นตัวอาคารหลังนี้ ซึ่งสร้างเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2451
ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน ทาสีขาว ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น มีลวดบัว หัวเสา ในแบบสถาปัตยกรรมยุโรปครบถ้วนสมบูรณ์ตามแม่แบบ ที่เรียกว่า “โบซาร์” (Beaux Arts) หรือสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ ผสมกับ “นีโอคลาสสิก” (Neo-classic) โดยสถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้มีชื่อเสียงในกรุงสยามในขณะนั้น คือ นายอันนิบาเล ริก๊อตติ (Annibale Rigotti) และนาย มาริโอ ดามันโย (Mario Tamagno) ซึ่งเป็นนายช่างออกแบบรับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย
ก่อสร้างโดยฝีมือของผู้รับเหมาสัญชาติเยอรมัน ที่เข้ามาตั้งกิจการในเมืองไทย ในนาม ห้าง ยี.ครูเซอร์ ใช้เวลาก่อสร้างนาน 2 ปี งบประมาณเป็นเงิน 3 แสนบาท
เมื่อเปิดใช้ครั้งแรกนั้นชั้นบนเป็นที่พักของผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ชาวต่างประเทศ ชั้นที่ 2 เป็นที่ทำการ ส่วนชั้นล่างเป็นห้องนิรภัย
อาคารงดงามฝีมือสถาปนิกอิตาเลียนแห่งนี้ ได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น นับเป็นประกาศนียบัตรที่ประกันความงดงาม เก่าแก่ และทรงคุณค่า ซึ่งยังอยู่ในสภาพดีเยี่ยม แม้จะก่อสร้างมาเป็นเวลานานร่วม 100 ปีแล้วก็ตาม
โดยในปี พ.ศ.2529 มีการบูรณะ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาในจุดที่รั่วซึม และทาสีใหม่ให้งดงามขึ้นเท่านั้น ในคราวนั้นมีการจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม
ปลายปี พ.ศ.2538 เป็นการบูรณะครั้งใหญ่ ซ่อมแซมและบำรุงรักษารายละเอียดทางด้านสถาปัตยกรรม เพื่อคงความงดงาม และได้ย้ายส่วนแสดงพิพิธภัณฑ์ไปอยู่ที่สำนักงานใหญ่บริเวณรัชโยธินแทน
ปัจจุบันตึกงามหลังนี้ ยังคงมีการใช้งาน ทำหน้าที่เป็นสำนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ให้บริการผู้คนย่านตลาดน้อย เดินเข้า-ออก ใช้บริการฝาก-ถอน และ ทำธุรกรรมการเงิน ซึ่งผู้ใช้บริการก็จะได้สัมผัสกับความงดงามของสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย
ที่มา :
http://www.oknation.net/blog/supawan/2008/07/24/entry-1
http://en.wikipedia.org/wiki/Beaux-Arts_architecture
http://architecture.about.com/od/periodsstyles/ig/Historic-Styles/Beaux-Arts.-0cU.htm
ปัจจุบันตึกงามหลังนี้ ยังคงมีการใช้งาน ทำหน้าที่เป็นสำนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ให้บริการผู้คนย่านตลาดน้อย เดินเข้า-ออก ใช้บริการฝาก-ถอน และ ทำธุรกรรมการเงิน ซึ่งผู้ใช้บริการก็จะได้สัมผัสกับความงดงามของสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย
ที่มา :
http://www.oknation.net/blog/supawan/2008/07/24/entry-1
http://en.wikipedia.org/wiki/Beaux-Arts_architecture
http://architecture.about.com/od/periodsstyles/ig/Historic-Styles/Beaux-Arts.-0cU.htm
จัดทำโดย นายพรภัทร ปิยะจันทร์วิจิตต์ 52020053 วันที่่ 9/2/2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น